ประวัติความเป็นมา

2014 - Present

Center of Excellence on Alternative Energy

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพลังงานทางเลือก สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ศลพ.)

ในปีงบประมาณ 2557  ศูนย์วิจัยเทอร์โมอิเล็กทริกส์ ได้เปลี่ยนแปลงสังกัด  จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ไปอยู่ภายใต้สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2558 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพลังงานทางเลือก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพลังงานทางเลือกได้พัฒนาจากศูนย์วิจัยเทอร์โมอิเล็กทริกส์ เนื่องจากมีหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทอร์โมอิเล็กทริก ฟิล์มบาง แสง พิโซอิเล็กทริก สกัดสาร จำลอง และแบตเตอรี่ มีนโยบายด้านบริหารจัดการ ด้านบุคลากร ด้านการวิจัย และด้านการบริหารงบประมาณและพัสดุ มีประเด็นยุทธศาสตร์ การผลิตผลงานวิจัยด้านพลังงานทางเลือกที่มีคุณภาพ การพัฒนานักวิจัยให้มีคุณภาพและศักยภาพ การบริการวิชาการ การเสริมสร้างเครือข่ายการวิจัย มีเป้าประสงค์ ผลงานวิจัยมีคุณภาพสามารถเผยแพร่ ในระดับชาติ นานาชาติ นักวิจัยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทอร์โมอิเล็กทริก ฟิล์มบาง พิโซอิเล็กทริก แสง สกัดสาร จำลอง แบตเตอรี่ เป็นศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการด้านเทอร์โมอิเล็กทริก ฟิล์มบาง พิโซอิเล็กทริก แสง สกัดสาร จำลอง แบตเตอรี่ สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนางานวิจัย ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครจะได้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพลังงานทางเลือก ได้งานวิจัยเฉพาะทาง ได้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทำวิจัยในลักษณะงานวิจัยแบบร่วมมือ ได้การบริการวิชาการแก่ชุมชน เครือข่ายความร่วมมือในการวิจัย ได้การบริการกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและสังคม 

ในปี พ.ศ. 2554 ศูนย์วิจัยเทอร์โมอิเล็กทริกส์ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก กฟผ.  จำนวน 6,204,000 บาท เรื่อง “การพัฒนาสมบัติวัสดุและการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเทอร์โมอิเล็กทริก” โดยมี ผศ. ดร.ทศวรรษ สีตะวัน เป็นหัวหน้าคณะทำงานวิจัยโดยซื้อเครื่องมือวิเคราะห์โครงสร้างสารด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (X-ray Diffractometer; XRD) จำนวน 1 ชุด ราคา 4,280,000 บาท

ในช่วงแรกได้ทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  และมหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ ซึ่งได้พัฒนาและค้นพบวัสดุเทอร์โมอิเล็กทริกชนิดใหม่ด้วยวิธีการสังเคราะห์แบบใหม่ เพื่อการประดิษฐ์เซลล์เทอร์โมอิเล็กทริกสู่อุตสาหกรรมภายในประเทศ  และได้ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารระดับชาติและนานาชาติมากกว่า  10 เรื่องในปี พ.ศ. 2553 ศูนย์วิจัยเทอร์โมอิเล็กทริกส์ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 1,500,000 บาท โครงการวิจัย “การพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเทอร์โมอิเล็กทริกโดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศ” มี ผศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน เป็นหัวหน้าคณะทำงานวิจัยและได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รับโล่รางวัลจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ในงานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศครั้งที่ 2

2008 - Begin

Thermoelectrics Research Center (TRC)

ศูนย์วิจัยเทอร์โมอิเล็กทริกส์ 

           เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2551 ผศ. ดร. ทศวรรษ  สีตะวัน  ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยเทอร์โมอิเล็กทริกส์ (Thermoelectrics Research Center; TRC) ขึ้นที่ ชั้น 2 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ โดยมี ผศ.สุวิทย์ จักษุจินดา เป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยเทอร์โมอิเล็กทริกส์ เพื่อศึกษาวิจัยเทคโนโลยีเทอร์โมอิเล็กทริก 5 ด้าน คือ  การคำนวณ การสกัดสาร การสังเคราะห์วัสดุการประดิษฐ์มอดูล และการประยุกต์ใช้

ผศ. ดร. ทศวรรษ สีตะวัน

ผศ.สุวิทย์ จักษุจินดา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า