การประกวดนวัตกรรมสำหรับพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ปี 2565 (ISDA2022)

การประกวดนวัตกรรมสำหรับพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ปี 2565

Innovation for Sustainable Local Development Award 2022


ประมวลภาพกิจกรรม

 

ศลพ. จัดงานประกวดนวัตกรรม ISDA2022

Countdown


Download –  คู่มือนวัตกรรม  –  กำหนดการ   – ข้อเสนอนวัตกรรม       –Template Poster     – Logo ISDA2022


 

 

 

 

 

 

 


เกณฑ์การประกวดนวัตกรรม


ระดับชั้นการประกวดนวัตกรรม

ระดับชั้นการการแข่งขันแบ่งเป็น 2 ระดับได้แก่ 1) ระดับมัธยมศึกษาและ 2) ระดับอุดมศึกษา โดยแต่ละทีมประกอบด้วยนักเรียนจำนวนไม่เกิน 3 คนและอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เกิน 2 คน ซึ่งนักเรียนผู้นำเสนอผลงาน ต้องมีชื่อและผ่าน “การอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานทางเลือก ปี 2565” มาแล้วเท่านั้น และนักเรียน 1 คนสามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ไม่เกิน 1 ผลงาน โดยอาจารย์ผู้ดูแลสามารถควบคุมนักเรียนผู้นำเสนอผลงานไม่จำกัดชิ้นงาน

เงื่อนไขการส่งผลงาน

1) ไม่เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการลอกเลียนแบบผู้อื่นถ้าเป็นนวัตกรรมที่มีการปรับปรุงพัฒนาต่อยอดต้องมีการระบุแหล่งที่มาของนวัตกรรมเดิม
2) ข้อมูลและรูปภาพที่นำมาประกอบต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์และต้องอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจนในกรณีละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ คณะกรรมการตัดสินจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
3) ไม่เป็นนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เคยได้รับรางวัลระดับชาติ
4) นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับหัวข้อการประกวดนวัตกรรม ด้แก่

4.1 นวัตกรรมด้านการเกษตร
4.2 นวัตกรรมด้านพลังงาน
4.3 นวัตกรรมโรคอุบัติใหม่

หมายเหตุ :

  1. ในกรณีที่ตรวจพบว่านวัตกรรมใดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้นจะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันหรือยกเลิกรางวัล

2. รางวัลระดับชาติหมายถึงรางวัลซึ่งได้รับจากงานประกวดที่มีหรือที่จัดโดยองค์กรของรัฐเช่น กระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งที่จัดโดยสมาคมต่างๆ ที่ เปิดรับสมัครโครงงานจากสถานศึกษาทั่วประเทศ


รายละเอียดการประกวดนวัตกรรม


ทีมที่ประสงค์จะส่งนวัตกรรมสำหรับพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ปี 2564 เข้าประกวดจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น พร้อมแนบข้อเสนอนวัตกรรม เพื่อให้คณะกรรมการใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ลงทะเบียนเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรม (ลงทะเบียนแบบออนไลน์เท่านั้น ตามเอกสารหน้าที่ 7)
  • แนบข้อเสนอนวัตกรรม (แนบไฟล์ word นามสกุล .doc หรือ .docx ในหน้าที่ 8) ประกอบไปด้วย
  1. หัวข้อที่เข้าร่วม
  2. ชื่อการประกวดนวัตกรรมสำหรับพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ปี 2564
  3. คณะผู้จัดทำนวัตกรรม
    รายชื่ออาจารย์และนักเรียน
  4. ที่มาและความสำคัญของการทำนวัตกรรม
  5. วัตถุประสงค์ในการทำนวัตกรรม
  6. หลักการหรือแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีที่ใช้ในการทำนวัตกรรม
  7. การออกแบบนวัตกรรมแบ่งออกเป็น
    7.1 ภาพร่างหรือแผนผังแสดงลักษณะของนวัตกรรม
    7.2 อธิบายการทำงานของนวัตกรรม
  8. จุดเด่นหรือความคิดสร้างสรรค์
  9. ประโยชน์และแนวทางการนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้

ขั้นตอนการทำนวัตกรรม


การทำนวัตกรรมสำหรับพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนเป็นการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนบนพื้นฐานของกระบวนการออกแบบ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการทำนวัตกรรม

รายละเอียดในขั้นตอนการทำนวัตกรรม เป็นดังนี้

  1. ระบุปัญหา (Problem Identification)
         ทำความเข้าใจปัญหาที่ต้องการแก้ไข วิเคราะห์ปัญหาโดยหาเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของสถานการณ์นั้นเพื่อกำหนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมหรือวิธีการในการแก้ปัญหา
  1. รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Related Information Search)
         ตรวจสอบแนวทางการแก้ปัญหาและประเมินความเป็นไปได้ถึงข้อดีและข้อจำกัดในการทำนวัตกรรม โดยการรวบรวมข้อมูลและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมสำหรับพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
  1. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design)
         เป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อการออกแบบนวัตกรรมหรือวิธีการในการแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงทรัพยากร ข้อจำกัดและเงื่อนไขตามสถานการณ์ที่กำหนด
  1. วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (Planning and Development)
         เป็นการกำหนดลำดับขั้นตอนของการสร้างนวัตกรรมหรือวิธีการ แล้วลงมือสร้างนวัตกรรมหรือพัฒนาวิธีการเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
  1. ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาจากนวัตกรรม (Testing, Evaluation and Design Improvement)
         เป็นการทดสอบและประเมินการใช้งานของนวัตกรรมหรือวิธีการ โดยผลที่ได้อาจนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด
  1. นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาจากนวัตกรรม (Presentation)
         เป็นการนำเสนอแนวคิดและขั้นตอนการแก้ปัญหาของการสร้างนวัตกรรมหรือการพัฒนาวิธีการ ให้ผู้อื่นเข้าใจและได้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อไป

การจัดแสดงผลงาน


การแสดงผลงานด้วยแผ่นนำเสนอนวัตกรรม

แผ่นนำเสนอโครงงานเป็นกระดาษไวนิลหรืออื่น ๆ ขนาด A0 หรือประมาณ 80 x 120 cm2 จำนวน 1แผ่นและควรมีข้อความเนื้อหาประกอบแผ่นนำเสนอโครงงานที่สำคัญดังนี้

1). หัวข้อที่เข้าร่วม
2). ชื่อโรงเรียน
3). ชื่อนวัตกรรม
4). ชื่อคณะผู้ทำนวัตกรรม
5). บทคัดย่อ
|      6). วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม
7). สรุปแนวคิดที่ใช้ในการทำนวัตกรรม (ผังหรือตาราง)
8). วิธีการทำงานของนวัตกรรม
9). สรุปผลการดำเนินงาน

นวัตกรรมต้องสามารถทำงานได้จริง ในกรณีที่นวัตกรรมเป็นแบบจำลอง ต้องสามารถแสดงการทำงานและสามารถอธิบายถึงมาตราส่วนเพื่อการพัฒนาสู่การสร้างนวัตกรรมสำหรับพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนที่นำไปใช้งานจริงได้ โดยไม่กำหนดขนาดของนวัตกรรม

  • นำเสนอนวัตกรรม​ เป็นนวัตกรรมที่ใช้ได้จรืงณสถานทีาจัดงาน​ เวลานำเสนอ​ 5-10 นาที
  • คณะกรรมการ

ประกอบไปด้วย อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยหรือนักวิชาการ จำนวน 5 คน
|    คณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่มีคะแนนรวมสูงสุดของแต่ละระดับชั้นเพื่อรับรางวัลตามที่กำหนด
หากทีมใดมีคะแนนรวมเท่ากันให้ยึดถือคำตัดสินของคณะกรรมการ

  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

การรับสมัคร

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมแข่งขันผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น
ลิ้งลงทะเบียนได้ที่ >>> https://forms.gle/wNvoR7vaYZe1sHHW8
หรือ >>> https://ceae.snru.ac.th/isda2022

หมดเขตรับสมัคร วันที่ 7 สิงหาคม 2565 เวลา 23.59 น

ประกวดผลงานในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ณ หอประชุมจามจุรี 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:

      สำนักงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านพลังงานทางเลือก
           Tel/Fax: 042-744319
E-mail: ceae@snru.ac.th

          คณะผู้จัดงาน
              ดร.ครรชิต  สิงห์สุข , Phone: 099-474-4053


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า